Health

  • หาวบ่อย ลักษณะแบบไหนที่ผิดปกติ
    หาวบ่อย ลักษณะแบบไหนที่ผิดปกติ

    หาวบ่อย ลักษณะแบบไหนที่ผิดปกติ

    หาวบ่อย หรือการหาว เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายมีการอ้าปากและสูดหายใจเข้าลึก ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยความเหนื่อย ความง่วง หรือเมื่อยล้า การต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นของร่างกาย การหาวอาจเกิดได้จากการพูดถึงหรือการเห็นผู้อื่นหาว มีแนวคิดว่าที่มนุษย์หาวตาม ๆ กัน (contagious yawn) อาจเป็นการสื่อสารทางสังคมของมนุษย์ชนิดหนึ่ง อาการหาวมากผิดปกติคือมีการหาวมากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งนาที ซึ่งอาจเกิดจากความง่วง หรืออาจถูกกระตุ้นจากโรคหรือภาวะต่างๆ ก็เป็นได้

    สาเหตุและวิธีรักษาอาการหาวบ่อย

    • ความง่วง เหนื่อยล้าจากการนอนหลับไม่เพียงพอ

    การนอนหลับไม่เพียงพอนั้นสามารถเกิดได้จากระยะเวลาการนอนหลับที่สั้นเกินไป หรืออาจเกิดจากการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในขณะที่นอนหลับ อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ในอนาคต การนอนหลับไม่เพียงพอสามารถส่งผลอื่น ๆ ต่อร่างกายได้ เช่น ไม่มีสมาธิ ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ช้า รู้สึกอยู่ไม่สุข เซื่องซึม ไม่ต้องการทำอะไร หรือเหนื่อยเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย หากสงสัยว่าตนมีภาวะนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบการนอนหลับ (sleep test)

    • ผลข้างเคียงจากยา เช่น กลุ่มยานอนหลับ ยาช่วยคลายกังวล ยาต้านซึมเศร้า ยาแก้ปวดบางชนิด
    • การหาวมากผิดปกติยังอาจเกิดจากโรคทางกายอื่นๆ ได้ เช่น
      • ภาวะเลือดออกบริเวณในหรือรอบๆ หัวใจ หรือโรคหัวใจ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดร้าวไปแขนหรือคอ หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ วิงเวียน หน้ามืด
      • มะเร็งหรือก้อนเนื้อในสมอง เกิดการกดเบียดทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงต้องการการหาวเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ชาหรืออ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปัญหาด้านการมองเห็น ปัญหาด้านความจำ เป็นต้น
      • โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเช่นกัน จะมีอาการชา อ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด เดินเซ มีการมองเห็นผิดปกติ หรือวิงเวียนร่วมด้วย
      • โรคลมชัก เกิดการนำกระแสประสาทผิดปกติในหลายส่วนหรือทั้งหมดของสมอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในบางครั้งกระแสประสาทผิดปกตินี้เกิดในสมองส่วนที่ควบคุมการหาว จึงทำให้เกิดการหาวที่ผิดปกติร่วมด้วยได้
      • โรคปลอกประสาทอักเสบ (multiple sclerosis) ทำให้เส้นประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกายเสียหาย ไม่สามารถควบคุมร่างกายบางส่วนได้ หรืออาจเกิดจากความเหนื่อยเพลียและควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ได้ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยปลอกประสาทอักเสบ โดยผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยเพลียมากผิดปกติ ชาหรือรู้สึกเหมือนเข็มทิ่มที่ลำตัว ใบหน้า แขน ขา การมองเห็นผิดปกติ วิงเวียน เดินหรือทรงตัวลำบาก เป็นต้น
      • ภาวะตับวาย มักพบในรายที่อาการรุนแรงเนื่องจากจะทำให้อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว สับสน รู้สึกง่วงมากในช่วงกลางวัน บวมตามลำตัวหรือแขน ขา
      • ภาวะร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการหาวเป็นวิธีหนึ่งที่ร่างกายใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิ หากร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ เช่น มีโรคประจำตัวบางชนิด การใช้ยาบางชนิด ในผู้สูงอายุ อาจเกิดการหาวผิดปกติเพื่อเป็นการช่วยในการควบคุมอุณหภูมิกายอีกวิธีหนึ่ง

    การสังเกตตนเองและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาภาวะทางกายต่างๆ เหล่านี้ได้

    วิธีแก้ไขอาการหาวบ่อยเบื้องต้นด้วยตนเอง

    • หายใจลึกๆ จะช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย สามารถลดการหาวได้ในผู้ที่การหาวเกิดจากร่างกายต้องการออกซิเจน หรือในกรณีหาวติดต่อกับผู้อื่น (contagious yawn)
    • เคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกายสามารถกระตุ้นระบบประสาทและสมองได้ สามารถลดการหาวในผู้ที่การหาวเกิดจากความเหนื่อยล้า เบื่อ หรือความเครียดได้
    • เพิ่มความเย็นในร่างกาย เช่น การเดินไปยังบริเวณที่อากาศเย็นและถ่ายเท ดื่มน้ำเย็น หรือกินอาหารว่างเย็นๆ  เช่น ผลไม้แช่เย็น

    ควรพบและปรึกษาแพทย์เมื่อมีการหาวบ่อยมากกว่าปกติและมีอาการอื่นที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาการทางกายที่ผิดปกติอื่นๆ

    การรักษาอาการหาวบ่อย

    • การหาวที่เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือความเหนื่อยล้า สามารถใช้วิตามินเสริมช่วยลดความเหนื่อยล้าได้ ในผู้ที่ขาดวิตามิน
    • การหาวผิดปกติที่เกิดจากปัญหาด้านการนอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับอาจแนะนำแนวทางเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น เช่น การเข้านอนเป็นเวลาเดิมในทุก ๆ คืน การใช้อุปกรณ์ช่วยการหายใจขณะนอนหลับ การออกกำลังเพื่อลดความเครียด หรือการใช้ยาในรายที่จำเป็น เป็นต้น
    • การหาวผิดปกติที่เกิดจากยา แพทย์จะพิจารณาลดขนาดยาลงหรือหยุดยาที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควรปรับหรือหยุดยาด้วยตนเอง
    • การหาวที่เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะแนะนำการรักษาที่ตัวโรค ซึ่งจะทำให้อาการหาวผิดปกติดีขึ้นได้

    หาวบ่อย

    หาวบ่อย เป็นสัญญาณบอก 10 โรคนี้

    1. โรคนอนไม่หลับ

    อย่างที่บอกว่าอาการหาวจะเกิดขึ้นเพื่อปลุกให้เราสดชื่น ตื่นตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นข้อสันนิษฐานแรกอาจเดาว่าอาการหาวบ่อย ๆ เป็นเพราะอาการนอนไม่หลับก่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองร่วมด้วยนะคะ ว่าเรานอนไม่หลับจริงไหม เช่น มักจะสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตอนกลางวัน โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย

     2. โรคลมหลับ (Narcolepsy) 

    โรคลมหลับเป็นโรคที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และผู้ป่วยมักจะมีภาวะหลับกลางอากาศแม้กระทั่งทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ โดยสาเหตุของโรคนี้แพทย์สันนิษฐานกันว่าอาจมีความผิดปกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น ซึ่งก่อนจะเดาว่าอาการหาวบ่อยของเราส่อถึงโรคนี้ ก็อยากให้เช็กอาการของโรคลมหลับก่อน เช่น นอนเท่าไรก็ไม่พอ รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา มีอาการง่วงนอนพร้อมกับภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง (แขน, ขา) ขณะกำลังจะตื่น หรือเห็นภาพลวงตาช่วงใกล้จะหลับ (ภาวะผีอำ)

    3. นอนกรน

    แม้ภาวะนี้จะไม่ใช่โรค แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทบกับสุขภาพการนอนหลับของร่างกายมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะคนที่นอนกรนมักจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือเรียกง่าย ๆ ว่านอนหลับไม่สนิทนั่นเอง ดังนั้นจึงมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ จนต้องแสดงอาการหาวบ่อย ๆ ไปด้วย ทว่าอาการนอนกรนสามารถรักษาให้หายได้นะคะ ดังนั้นใครรู้ตัวว่านอนกรนจนบั่นทอนสุขภาพอยู่ตอนนี้ ก็รีบเข้ารับการรักษาอาการนอนกรนกันดีกว่า

    4. โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

    โรคอ่อนเพลียเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของกลไกในร่างกาย ซึ่งยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ทว่าที่เราจะเห็นได้ชัดคืออาการของผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ที่จะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อีกทั้งมักจะมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น และง่วงในช่วงกลางวันจนต้องหาวบ่อย ๆ ได้

    5. โรคอ้วน

    คนอ้วนมักจะมีความไม่คล่องตัวสูง การเคลื่อนไหวร่างกายจะทำได้ช้ากว่าปกติ และโดยส่วนมากก็ไม่ค่อยจะอยากเคลื่อนไหวร่างกายกันสักเท่าไรด้วย ดังนั้นแน่นอนว่าความเบื่อ ความง่วง อาการเพลียมักจะเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้มากว่าคนที่มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐาน นำมาซึ่งอาการหาวบ่อย ๆ ตามมาได้ ที่สำคัญภาวะน้ำหนักเกินยังเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด ทั้งโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจด้วยนะคะ

    6. โรคลมชัก 

    โรคลมชัก เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณผิวสมอง โดยกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดอาการลัดวงจร หรือทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้มีความผิดปกติทางระบบประสาทจนผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งอาการหาวบ่อยก็เป็นหนึ่งในความผิดปกติของผู้ป่วยโรคลมชักเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยว่าเราป่วยโรคลมชักหรือไม่อีกทีนะคะ เพราะจริง ๆ แล้วโรคลมชักมีความซับซ้อนของอาการแสดงอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจโดยแพทย์อย่างละเอียดอีกที ซึ่งเราก็จะได้รู้วิธีดูแลรักษาตัวเองให้หายจากอาการป่วยด้วย

    7. เนื้องอกในสมอง

    อาการหาวบ่อยในบางกรณีเกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท อย่างโรคเนื้องอกในสมองก็เช่นกันค่ะ โดยผลการวิจัยจากวารสาร Neurosurgery and Psychiatry พบว่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมองมักจะมีอาการหาวบ่อย ดูเซื่องซึม ซึ่งเขาก็สันนิษฐานกันว่าอาจเกิดจากระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวถูกกดทับ ทำให้เลือดส่งออกซิเจนมาเลี้ยงสมองได้อย่างลำบาก จนร่างกายต้องรับออกซิเจนเพิ่มด้วยการหาวบ่อย ๆ นั่นเอง

    8. โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS 

    โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS (multiplesclerosis) เกิดจากเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลืองถูกกระตุ้นจากสารบางชนิดให้เข้าไปทำลายปลอกประสาทในสมอง ซึ่งตัวปลอกประสาทของสมองนั้นมีหน้าที่ส่งต่อกระแสประสาทให้เกิดการเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว ทว่าเมื่อเกิดการอักเสบที่ปลอกประสาทแล้ว การนำกระแสประสาทในร่างกายก็จะทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดเป็นอาการผิดปกติต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นก็คืออาการหาวบ่อยจนผิดสังเกตนี่แหละค่ะ

    9. ตับวาย

    อาการหาวบ่อยจะพบในผู้ป่วยโรคตับวายในระยะที่อาการเริ่มรุนแรงแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ จึงเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ได้ ซึ่งจะว่าไปแล้วอาการหาวบ่อยในผู้ป่วยตับวาย ก็ไม่ถือว่าอันตราย และยังอาจเป็นวิธีช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้นได้ด้วยนะคะ

    10. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

    อาการนี้อันตรายและต้องสังเกตให้ดีค่ะ เพราะหากมีอาการหาวบ่อยผิดปกติร่วมกับรู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจได้สั้นลง ตัวซีด ตัวเขียว ให้รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่สะดวกจนเกิดความผิดปกติและอาจอันตรายถึงชีวิตได้

    โดยนอกจากอาการหาวบ่อยจะบอกโรคดังกล่าวได้แล้ว ภาวะหาวบ่อยยังอาจเกิดจากประเด็นเหล่านี้

    • ภาวะเครียด สมองล้า อ่อนเพลีย

    สำหรับคนที่มักจะหาวบ่อยในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ ใกล้เวลาเลิกงาน และยังคงมีอาการหาวต่อเนื่องไปจนถึงหัวค่ำ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้รู้สึกง่วงนอน อาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจแสดงถึงความเครียด ความอ่อนล้าของสมองจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่นั่งทำงานนาน ๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย การอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ แบบนี้จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานไม่สะดวก สมองก็จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายต้องเปิดปากหาวเพื่อรับออกซิเจนเพิ่มเติม

    • ผลข้างเคียงจากยา

    โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการทางจิตเวช เช่น ยาต้านเศร้า ยารักษาอาการวิตกกังวล อาจมีผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยง่วงซึมท้งวัน และเกิดอาการหาวบ่อย ๆ ให้เห็นได้ หรือยากลุ่มรักษาอาการภูมิแพ้ (ยาแก้แพ้) บางชนิดก็ก่อให้เกิดอาการง่วงหนักมากได้เช่นกัน

    • หาวบ่อยเพราะอาหาร

    อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายง่วงซึม ซึ่งในที่นี้หมายถึงการกินน้ำตาลและแป้งในปริมาณที่มากจนเกินไปนะคะ เนื่องจากเมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไปมาก ตับอ่อนก็จะส่งอินซูลินออกมาเพื่อย่อยน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดอาการง่วงงุนตามมา

    วิธีแก้อาการหาวบ่อย

    • ดื่มน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เลือดอีกทาง และการดื่มน้ำเปล่ายังจะปลุกความสดชื่นให้ร่างกายด้วย
    • เคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะตอนที่หาว ให้ลุกไปเดินเล่น เปลี่ยนบรรยากาศให้ตัวเองสักหน่อย
    • สูดหายใจเข้าลึก ๆ บางทีความเผอเรออาจทำให้เราหายใจไม่เต็มปอดได้ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ดังนั้นสูดลมหายใจลึก ๆ เข้าไว้ค่ะ
    • ออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี ไม่แออัดไปด้วยผู้คน ยิ่งหากเป็นพื้นที่ที่มีสีเขียวจากต้นไม้ สีฟ้าจากท้องฟ้า และแสงแดดอ่อน ๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้เป็นอย่างดีเชียวล่ะ
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นความตื่นตัวและช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
    • กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และพยายามเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ที่อาจทำให้ง่วงได้หากกินมากเกินไป
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยพยายามนอนอย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อวัน
              อย่างไรก็ดีไม่อยากให้ทุกคนตื่นตูมว่าอาการหาวบ่อยที่เป็นอยู่อาจเพราะป่วยสักโรคใน 10 โรคที่กล่าวมา เพราะอย่างที่บอกว่า นอกจากหาวบ่อยแล้วยังต้องสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หรือถ้าจะให้ชัวร์ที่สุดคือต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยละเอียด ดังนั้นหากสงสัยอาการหาวบ่อยของตัวเองก็ควรปรึกษาแพทย์

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  horseng.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • ขุด Bitcoin คืออะไร?
    ขุด Bitcoin คืออะไร?

    วิธีการหาเงินจากคริปโตฯ มีมากมายหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่มีมาอย่างยาวนานที่สุดคือ ขุด Bitcoin (Bitcoin Mining) บทความนี้จะพาไปเจาะลึกว่าการขุด Bitcoin คืออะไร แล้วถ้าอยากเข้าสู่วงการขุด Bitcoin จะต้องทำอย่างไรบ้าง

    การ ขุด Bitcoin คืออะไร?

    ‘การขุด Bitcoin’ เป็นกระบวนการสร้างเหรียญ Bitcoin ใหม่ด้วยการถอดรหัสสมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนผ่านคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งชิปพิเศษ (ASIC) ซึ่งผู้ที่สามารถแก้สมการได้สำเร็จก่อนก็จะได้รับรางวัลเป็นเหรียญ Bitcoin หรือ BTC มูลค่า 6.25 BTC ต่อ 1 บล็อก อย่างไรก็ตาม มูลค่าของรางวัลที่จะได้รับจากการขุด Bitcoin จะลดลงครึ่งหนึ่งในทุก ๆ 4 ปี โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ ‘Bitcoin Halving’ ปรากฏการณ์ที่สายขุดต้องรู้จัก

    ทั้งนี้ จำนวนบิตคอยน์มีอยู่จำกัดที่ประมาณ 21 ล้านเหรียญ ซึ่งล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2022 บิตคอยน์ถูกขุดไปแล้วกว่า 19.01 ล้านเหรียญ หรือราว 90% ของจำนวนบิตคอยน์ทั้งหมด โดยคาดว่าบิตคอยน์จะถูกขุดหมดประมาณปี 2140 ด้วยอุปทาน (Supply) ที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ทำให้นักขุด Bitcoin ต้องต่อสู้กันอย่างดุเดือดเพื่อให้ได้มาซึ่งเหรียญ Bitcoin

    ‘Bitcoin Halving’ ปรากฏการณ์ที่สายขุดต้องรู้จัก

    ใครที่ศึกษาเกี่ยวกับ Bitcoin อยู่ คงเคยได้ยินคำว่า ‘Bitcoin Halving’ มาบ้าง ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ถ้าใครอยากเป็นสายขุดต้องทำความรู้จักมันไว้ด้วย

    Bitcoin Halving เป็นเหตุการณ์ที่รางวัลสำหรับการขุด Bitcoin จะลดลงครึ่งหนึ่งในทุก ๆ 4 ปี โดยเมื่อปี 2009 ที่ Bitcoin ถือกำเนิดขึ้น หากเราขุด Bitcoin เราจะได้รับผลตอบแทนจากการขุดถึง 50 BTC ต่อ 1 บล็อก ในปี 2012 ผลตอบแทนที่ได้รับจะเหลือครึ่งหนึ่งที่ 25 BTC ต่อ 1 บล็อก ปี 2016 ก็จะเหลือ 12.5 BTC ต่อ 1 บล็อก และในปี 2020 ที่เกิดเหตุการณ์ Bitcoin Halving ครั้งที่ 3 ทำให้รางวัลที่จะได้จากการขุดเหลือ 6.25 BTC ต่อ 1 บล็อก ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่จะได้หากเราขุด Bitcoin ได้ตอนนี้นั่นเอง และนั่นก็หมายความว่าปี 2024 หรืออีก 2 ปีที่จะถึงนี้ เหตุการณ์ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 จะทำให้รางวัลจากการขุด Bitcoin เหลือเพียง 3.125 BTC ต่อ 1 บล็อก หรือลดลงจากปี 2009 กว่า 1500% เลยทีเดียว

    ขุด Bitcoin 1

    ขุด Bitcoin ทำลายโลกจริงหรือ?

    ในช่วงแรก ๆ ของการกำเนิด Bitcoin นักขุดสามารถใช้โปรแกรมขุดบนคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อปในการขุด Bitcoin ได้ แต่เมื่อเครือข่ายของ Bitcoin มีขนาดใหญ่ขึ้นและเริ่มมีนักขุดมากหน้าหลายตาเข้ามาหารายได้จากการขุด Bitcoin มากขึ้น อัลกอริธึมในการขุดก็ยากขึ้น แม้ว่าประสิทธิภาพของชิป ASIC จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แต่การเติบโตของเครือข่าย Bitcoin อย่างรวดเร็วก็แซงหน้าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขุด Bitcoin เนื่องจากต้องใช้พลังงานอย่างมหาศาลในการทำงาน อ้างอิงจากข้อมูลของ XRP Ledger ที่กล่าวว่าบิตคอยน์ใช้ไฟฟ้าต่อชั่วโมงมากที่สุดถึง 951.58 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ในขณะที่เงินสดใช้ไฟฟ้า 0.044 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ส่วนมาสเตอร์การ์ด (Master Card) ใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุดเพียง 0.0006 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) หรือน้อยกว่าบิตคอยน์ถึง 1.58 ล้านเท่า

    ในปี 2021 ที่ผ่านมา เจ้าแห่งรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง ‘Tesla’ ได้ประกาศรับ Bitcoin ในการชำระค่ารถยนต์ไฟฟ้า แต่ไม่นานก็ต้องยกเลิกไปเพราะอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้หยิบยกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมากล่าวถึง พร้อมกล่าวว่ามีโอกาสกลับมารับบิตคอยน์ในการทำธรุกรรมอีกครั้งหากการขุด Bitcoin ใช้พลังงานสะอาดเกิน 50%

    ขุด Bitcoinได้ต้องเสียภาษีไหม?

    “ภาษีคริปโตฯ” กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงต้นปี 2022 ที่ผ่านมา หลังจากกรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้ที่มีรายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่สายขุดก็ยังไม่ต้องร้อนใจกันไป เพราะรายได้ที่เกิดจากการขุด Bitcoin นั้นยังไม่ถือเป็นเงินได้ ฉะนั้นจึงยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นั่นเอง ใครอยากเป็นสายขุดก็เบาใจในเรื่องนี้ไปได้ แต่ในอนาคตทางกรมสรรพากรจะมีการพิจารณาเปลี่ยนกฎเกณฑ์หรือไม่ก็ยังต้องติดตามกันต่อไป

    ขุด Bitcoinอย่างไรให้ปัง?

    ปัจจัยที่นักขุด Bitcoin ต้องคำนึงมีอยู่ 3 ปัจจัยหลัก ๆ ซึ่งได้แก่ เครื่องขุด, ค่าไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย

    เครื่องขุด: นักขุดต้องทำการซื้อเครื่องขุด Bitcoin โดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่า ASIC แม้ว่าจะสามารถขุด Bitcoin ได้ด้วย CPU ทั่วไปที่ใช้ GPU หรือ FPGA แต่การขุดจะทำได้อย่างช้า ๆ ซึ่งทำให้เสียเวลาและค่าไฟโดยเปล่าประโยชน์ เพราะมีคู่แข่งจำนวนไม่น้อยที่ใช้เครื่องขุด Bitcoin สเปคเทพ มาลงสนามขุด Bitcoin ไปพร้อมคุณ

    ค่าไฟฟ้า: ในการขุด Bitcoin จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นค่าไฟฟ้าจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการขุด Bitcoin นักขุด Bitcoin มืออาชีพส่วนใหญ่มักจะตั้งเหมืองขุดในประเทศที่มีค่าไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่ำเพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้ โดยต้องต่ำกว่า $0.06 ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง จึงจะสามารถทำกำไรจากการขุด Bitcoin ได้แม้ว่าจะอยู่ในภาวะตลาดหมี

    โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย: ความเร็วของเครือข่ายไม่ได้สร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนกับกระบวนการขุด Bitcoin อย่างไรก็ตาม นักขุดต้องแน่ใจว่าอินเทอร์เน็ตของคุณมีการเชื่อมต่อที่เสถียรพร้อมรับการใช้งานของโปรแกรมขุด Bitcoin ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะหากการเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ตถูกตัดไป กระบวนการขุดอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาดหลังจากอินเทอร์เน็ตกลับมาเชื่อมต่อได้อีกครั้ง


    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://horseng.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.finnomena.com